11/10/57

อาหารเสริมพืชในรูปนาโน แบบเดียวกับที่แบ่งขายเป็นแคปซูลนาโน ผงสีดำ ขนาด100กรัม 150บาท

จะจ่ายแพงกว่าทำไม? แคปซูลเราไม่ขาย เราขายยกกระปุก


สุดยอดอาหารเสริมพืชในรูปนาโน ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
ของแท้100% เชื่อถือได้ ของดีมีคุณภาพ ผลิตภายใต้โครงการนักวิจัยอาสา อยากให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิต
“การสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พืช คือ แนวทางใหม่ของการผลิตพืชผักปลอดสารพิษ”

สูตรเข้มข้น ละลายน้ำได้100% ช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดี ดูดซับธาตุอาหารและพืชน้ำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น กระตุ้นให้พืชสร้างรากใหม่ให้เร็วขึ้น รากแผ่ขยายมากขึ้น เพิ่มอัตราการหายใจ เพิ่มการสังเคราะห์แสง พืชให้ผลผลิตเร็ว ใช้ทำอาหารจานด่วน เร่งต้นโต เร่งแตกใบอ่อน เร่งดอก เร่งผลโต

ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ทุกระยะการเจริญเติบโต

อัตราการใช้ : 1-2 กรัม (5-10 กรัม สำหรับนาข้าว) ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทางใบหรือราดรดโคนต้น

จำหน่ายกระปุกละ 100 บาท จากปกติ 150 บาท ขนาดกระปุกละ 100 กรัม

Promotion!! ซื้อ 10 กระปุก แถมฟรี 1 กระปุก

พร้อมจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ ด่วน! EMS ค่าจัดส่ง
1-4 กระปุก 60 บาท
5-9 กระปุก 80 บาท
10-20 กระปุก 100 บาท
21-30 กระปุก 150 บาท
31-50 กระปุก 200 บาท
50 ขึ้นไป 250 บาท

ติดต่อ K.ศศิ  081-451-6545

แบบยกกิโล เหลือโลละ 900 บาท เท่านั้น เอาไปใช้เองคุ้มสุดๆ

2/10/57

พืชขาดธาตุอะไร? แสดงอาการอย่างไร?

อาการพืชเมื่อขาดธาตุอาหาร
     มนุษย์และสัตว์ที่ได้ธาตุอาหารไม่ครบหมู่จะเกิดอาการผิดปกติทางร่างกายที่ไม่ต่างจากการเจ็บป่วย เรียกว่า โรคขาดสารอาหาร พืชที่ได้รับธาตุอาหารไม่ครบหมู่หรือไม่สมดุล ส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ยอด ดอก ผล เป็นต้น ย่อมมีลักษณะของอาการเหมือนเป็นโรค ทีนี้เราจะมาดูกันว่าธาตุไหนที่พืชขาดแล้วจะแสดงอาการอย่างไร

ไนโตรเจน (N)
     พืชที่ได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป อาการที่พบ คือ เฝือใบ ใบหนากว่าปกติ สีเขียวเข้ม ลำต้นอวบอ่อน เซลล์ผิวเปลือกบาง ลำต้นไม่แข็งแรงเปราะหักล้มง่าย ออกดอกติดผลช้า ผลสุกแก่ช้า เนื้อผลหยาบ เสี้ยนมาก เปลือกหนา กลิ่นและรสไม่ดี
     พืชที่ได้รับธาตุไนโตรเจนน้อยเกินไป อาการที่พบคือ โตช้า แคระแกร็น ใบเล็ก ดอก/ผลร่วงง่าย

ฟอสฟอรัส (P)
     พืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส อาการที่พบ คือ ใบเล็ก สีใบเขียวหม่นไม่สดใส ก้านและเส้นใบสีเขียวอมม่วง ต้นไม่โตหรือโตช้า

แคลเซียม (Ca)
     พืชที่ขาดธาตุแคลเซียม อาการที่พบ คือ ปลายรากแห้งตาย ระบบรากสั้น/น้อยและคุณภาพไม่ดี ใบ/ดอก/ผลอ่อนบิดม้วนงอ สีผลจางซีด จุกผลสูง เปลือกหนา

กำมะถัน (S)
     พืชที่ขาดธาตุกำมะถัน อาการที่พบ คือ ใบเหลืองซีดทั้งใบ ต้นเติบโตช้า เนื้อผลมีกากมาก รากเป็นปุ่มปม

แมกนีเซียม (Mg)
      พืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม อาการที่พบ คือ ขอบใบสีซีดจางแล้วเปลี่ยนเป็นเหลืองอมแดงจนกระทั่งเป็นน้ำตาลแล้วแห้งตายในที่สุด อาการนี้จะเริ่มจากใบที่โคนกิ่งแล้วลามไปทางปลายกิ่ง ทำให้กิ่งนั้นเหลือแต่ใบที่ยอดที่ยังเขียวอยู่เท่านั้น

โบรอน (B)
     พืชที่ขาดธาตุโบรอน อาการที่พบ คือ ไส้/แกนกลางลำต้นเน่า หัวด่างลาย ใบเหลืองซีดลาย ใบแก่บิดเบี้ยวเสียรูปร่าง
     พืชที่ได้รับธาตุโบรอนมากเกินไป อาการที่พบ คือ เนื้อใบระหว่างเส้นใบเป็นสีเหลือง (คล้ายอาการขาดธาตุแมกนีเซียม) แล้วเปลี่ยนเป็นแห้ง ระบบรากเสีย เจริญเติบโตช้า

ทองแดง (Cu)
     พืชที่ขาดธาตุทองแดง อาการที่พบ คือ สีใบจะเปลี่ยนจากสีเขียวเข้มเป็นเขียวอมน้ำเงิน จากนั้นขอบใบจะม้วนงอขึ้น ในที่สุดก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วแห้งตายไป อาการนี้เริ่มเกิดจากใบล่างไปสู่ใบบน ระบบรากชะงักการเจริญเติบโต เปราะหักง่าย ไม่แผ่ขยาย ต้นมีการเจริญเติบโตทางสูงมากกว่าทางข้าง ออกดอกน้อย ช้า เกสรไม่สมบูรณ์
     พืชที่ได้รับธาตุทองแดงมากเกินไป อาการที่พบ คือ ต้นโทรมเนื่องจากไม่สามารถลำเลียงธาตุอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของต้นได้ เพราะถูกทองแดงขัดขวางไว้

เหล็ก (Fe)
     พืชที่ขาดธาตุเหล็ก อาการที่พบ คือ ใบยอดเหลืองซีดจัดเริ่มจากขอบใบขยายเข้าสู่ด้านในแล้วแห้งตาย ใบมีขนาดเล็ก ข้อ/ปล้องระหว่างใบสั้น

แมงกานีส (Mn)
     พืชที่ขาดธาตุแมงกานีส อาการที่พบ คือ ใบยอดเหลืองซีดทั้ง ๆ ที่เส้นใบยังเขียวสด อาจจะมีจุดสีเทาอมเหลืองทำให้เหมือนอาการใบด่าง แขนงของยอดแคระแกร็น อาการนี้มักเกอดเมื่อต้นอายุ 4-6 เดือนหลังปลูก มีจุดแผลสีดำที่เมล็ดทำให้เสื่อมความงอก

โมลิบดินั่ม (Mo)
     พืชที่ขาดธาตุโมลิบดินั่ม อาการที่พบ คือ ใบหนาสีเขียวอมเทา ขอบใบม้วนห่อขึ้นคล้ายกรวย บางครั้งขอบใบมีสีแดงโดยเริ่มจากโคนไปหายอด

สังกะสี (Zn)
     พืชที่ขาดธาตุสังกะสี อาการที่พบ คือ สีใบซีดจาง (เหมือนขาดแมกนีเซียม) เริ่มจากขอบใบด้านในออกไปทางด้านนอก เนื้อใบมีสีเหลืองซีดสลับเขียว ปลายใบของกิ่งที่แตกแขนงใหม่แห้งตาย ผลสีซีด เปลือกหนา เนื้อหยาบ มีน้ำน้อย

ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะคะ,, Jib Sasi

ฮอร์โมนไข่

ฮอร์โมนไข่ » เรามี 2 สูตร ให้เลือกทำกันนะคะ

1. สูตรมาตรฐาน
วัสดุส่วนผสมและอัตราส่วน :
ไข่สดพร้อมเปลือกบดละเอียด 5 กิโลกรัม
กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม
แป้งข้าวหมาก 2 ลูก
ยาคูลท์ 2 ขวด

2. สูตรซุปเปอร์
วัสดุส่วนผสมและอัตราส่วน :
ไข่สดพร้อมเปลือกบดละเอียด 5 กิโลกรัม
กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม
แป้งข้าวหมาก 2 ลูก
ยาคูลท์ 2 ขวด
เครื่องในปลาทะเลสดบดละเอียด 1/2 กิโลกรัม
สาหร่ายทะเลผง 1/2 กิโลกรัม
น้ำมันตับปลา 100 ซีซี.
วิตามินอี 5 เม็ด
ผงชูรส 200 กรัม
ธาตุรอง/ธาตุเสริม 200 ซีซี.

วิธีทำ : 
- เลือกทำสูตรใดสูตรหนึ่งตามต้องการ
- ใส่วัสดุส่วนผสมทั้งหมดลงในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ ใส่จุลินทรีย์เสริมอีกเล็กน้อย เติมน้ำมะพร้าวอ่อนพอเหลว คนเคล้าให้เข้ากันดี ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อให้อากาศแก่จุลินทรีย์ (แล้วแต่นะคะ) ระวัง! อย่าให้แมลงตอม เพราะจะทำให้เกิดหนอน เก็บในที่ร่มอุณหภูมิห้อง คนบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการนอนก้น หมักนาน 7-15 วันขึ้นไปถึงนานข้ามปี จะได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

วิธีใช้และอัตราการใช้ : ใช้น้ำ 100 ลิตร + หัวเชื้อเข้มข้น 100 ซีซี. ฉีดพ่นทางใบ ช่วงเช้าแดดจัด ทุก 7-15 วัน

เก็บรักษา :
- ฮอร์โมนไข่ที่ดี เมื่อหมักนาน ฟ จะมีกลิ่น หอม-หวาน-ฉุน น่ารับประทาน
- ฮอร์โมนไข่ที่หมักนาน ๆ แล้วเข้มข้นมากหรือมีอาการนิ่ง (ไม่มีฟอง) ให้เติมน้ำมะพร้าวอ่อนจนเหลวตามต้องการแล้วคน หลังจากเติมน้ำมะพร้าวอ่อนจะมีฟองเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
- ช่วงหลังจากหมักใหม่ ๆ มีกลิ่น เหม็น-บูด-เปรี้ยว
- ยิ่งหมักนานหรือข้ามปีได้ คุณภาพก็จะยิ่งดีขึ้น

พืชเป้าหมาย :
- ในพืชสวนครัวกินดอกและกินผล ใช้เดี่ยว ๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเป็นเวลานาน ๆ ช่วยให้ออกดอกติดผลดีมาก
- ในไม้ผลยืนต้นประเภทออกดอกติดผลง่ายหรือออกดอกติดผลได้ตลอดปี ใช้เดี่ยว ๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเป็นเวลานาน ๆ ช่วยให้ออกดอกติดผลดีมาก
- ในไม้ผลยืนต้นประเภทออกดอกยาก ใช้สลับกับสูตรเปิดตาดอกที่มีส่วนผสมของปุ๋ยทางใบ จะช่วยให้ออกดอกยิ่งขึ้น

*** ใช้ในอัตรา 100 ซีซี./น้ำ 100 ลิตร เป็นฮอร์โมนเปิดตาดอก ***

ลองทำกันดูนะคะ ไม่เสียหายค่ะ,, Jib Sasi